ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย หากผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณค่ะ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

>>>>>>>>>>><<<<<<<<< 
บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 กันยายน 2559  เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
--------------------------------------------------------------------------------------------------------


รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
   
1.ข่าวสารประจำสัปดาห์  ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
         สาระการเรียนรู้
         พัฒนาการและการเรียนรู้จากกิจกรรม
          กิจกรรมครอบครัว
         เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
          ข้อเสนอแนะ

     2.จดหมายข่าวและกิจกรรม เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก
     ►ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก
             กิจกรรมพัฒนาการเด็ก
     ► ข้อมูลผู้ปกครอง

  3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน อยู่ด้านหน้าชั้นเรียนทุกห้อง
    ► ข้อมูลจากสิ่งต่างๆ
    ►  ภาพถ่ายกิจกรรม
    ►  ผลงาน เกร็ดความรู้

   4.การสนทนา  เป็นรูปแบบให้ความรู้ที่เข้าถึงและตรงมากที่สุดเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
  ห้องสมุดผู้ปกครอง = เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ความเคลื่อนไหวและความทันสมัย
 ป้ายนิเทศ = ไม่เน้นห้องใดห้องหนึ่ง มีข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ทั่ว ๆ ไป
  นิทรรศการ = เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ บันเทิง ความรู้
  มุมผู้ปกครอง = พบปะสร้างสรรค์ ให้ความรู้ไม่นาน มีการแสดงผลงานของลูกเอาไว้
  การประชุม = ใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้ผู้ปกครอง
  จุลสาร = สิ่งพิมพ์ มี4ส่วน ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็ก ๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด
  คู่มือผู้ปกครอง = เอกสารให้ความรู้ผู้ปกครอง กฏ ระเบียบ ปรัชญา
  ระบบอินเทอร์เน็ต = การสื่อสารใช้เพื่อการเรียนการสอน


    การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  การออกแบบลักษณะรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งสารไปยังผู้ปกครองรู้ถึงพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ในการใช้สื่อเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น ป้ายนิเทศ ข่าวสารประจำสัปดาห์

     การประเมินผล
      ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเนื้อหาที่เรียน และจดบันทึกการบ้านที่ตนเองได้รับมอบหมาย
      ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างการทำข่าวสารประจำสัปดาห์
      ประเมินอาจารย์ อาจารย์เตรียมการเรียนการสอนอย่างเต็มที่สมบูรณ์ และตรงต่อเวลากับนักศึกษาเสมอ

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครัั้งที่ 6

                              >>>>>>>>>>><<<<<<<<< 
บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6 
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 12 กันยายน 2559  เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
งดสอน เนื่องจากอาจารย์งติดงานราชการ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

คำถามท้ายบท บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ   การดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันคือ การพัฒนาเด็กร่วมกันไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายโรงเรียนและที่สำคัญคือการพัฒนาเด็กจากผู้ปกครอง สร้างความเข้าใจจากการอบรบเลี้ยง แนวทางที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งโครงการบุ๊คสตาร์ททั้งในและต่างประเทศคำนึงถึงให้เด็กได้รับความรักจากหนังสือ ผ่านประสบการณ์ที่ครอบครัวสามารถร่วมกันพัฒนาเด็กได้ รวมทั้งส่งเสริมการรักการอ่านให้แก่เด็กเพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ครั้งต่อไป

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 
ตอบ  แนวคิดการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม คือ ข้าพเจ้าคิดว่าสร้างความเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็ก จากการให้คำปรึกษาในทางเดียวคือ การบรรยาย หรืออภิปราย จากผู้ปกครองฝ่ายเดียว โดยเพิ่มเติมจากการรับฟังให้ผู้ปกครองสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจในการพัฒนาบุตรหลานและลงมติ ประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองร่วมถึงประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและหน่วยงานสามารถเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านต่าง ๆ ได้

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ   
ตอบ

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   บ้างครั้งพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาหากผู้ปกครองไม่เข้าใจหรือใจต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงงออกมาอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาว การให้ความรู้ผู้ปกครองส่งผลในทางที่ดีต่อพฤติกรรมสำหรับเด็ก ไม่ก่อให้เกิดความหนักใจในพฤติกรรมเด็กสามารถใช้วิธีการหรือรูปแบบที่เหมาะสมกับช่วงวัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ถูกต้อง

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ สร้างเครื่องวัดประเมินผลสำหรับเด็ก คู่มือที่ผู้ปกครองสามารถประเมินผลได้จากสภาพความเป็นจริง

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
 วันที่ 5 กันยายน 2559  เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
-------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

         
            การเรียนวันนี้ถึงแม้เนื้อหาจะค่อนข้างเยอะอาจารย์ก็เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานและตั้งใจฟังการสอนของอาจารย์เพื่อนๆมีการสนทนากับอาจารย์ระหว่างเรียนทำให้ดูสบายกับการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้ เมื่อจบเนื้อหาอาจารย์ให้ดู วิดีโอที่เกี่ยวกับที่มาของโครงการ บุคสตาร์ทไทยแลนด์ โดยคุณตุ๊บป่อง เรืองศักดิ์  ปิ่นประทีป

   ความรู้ที่ได้รับ
·         ต้นกำเนิดบุ๊คสตาร์ทเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ
·         นางเวนดี้ คูลลิ่ง ผู้ก่อตั้งโครงการบุ๊คสตาร์ทซึ่งเป็นองค์กรการกุศล
·         โครงการบุ๊คสตาร์ทไทยแลนด์ เริ่มต้นในปี 2546

เนื้อหาที่เรียนรู้
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ 
โครงการแม่สอนลูก  ดำเนินการโดยกรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดให้สำหรับเด็กที่ด้วยโอกาสมารดาเป็นผู้สอนด้วยตนเองที่บ้าน การสอนใช้วิธีการในรูปแบบการทอลองโดยอาศัยรูปแบบโครงการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนรวมในการส่งเสริมพัฒนาเด็กด้านต่าง ๆ เช่น ภาษา พัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา ทั้งนี้ผู้ปกครองต้องบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกอย่างสม่ำเสมอ

โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
 การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรบเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุนชนและสถานีอนามัย เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย ซึ่งประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
1.วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยมีส่วนร่วม
2.วิธีการสนทนากลุ่ม เช่น การพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3.วิธีอภิปรายกลุ่ม เช่น การอภิปราย บรรยาย จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นโครงการขนาดใหญ่
4.วิธีการบรรยาย
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย ดำเนินงานโดยกรมสุขภาพจิต โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ประกอบด้วย
  • แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
  • คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเอง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง เรื่องการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
  • กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand) โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่านส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
  • จัดตั้งสถานบริการ “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรสให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
  • จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่
  • จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการอบรบเลี้ยงดูเด็ก
  • การส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการศึกษาให้แก่เด็ก
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ในประเทศอิสราเอล ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง มีการจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 3-4 ปี ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานร่วมกันระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชน ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทุกโรงเรียนในประเทศอิสราเอล

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย เรียกว่า ALEH (Early childhood Enrichment Center) มีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองดังนี้ แนะนำคุณแม่ที่อายุยังน้อยรู้จัก สื่อ-อุปกรณ์ ที่ดีเพื่อพัฒนาเด็ก แนะให้รู้จักกับนักสงเคราะห์เพื่อรับฟังให้คำแนะที่ดีในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดกับลูก มีกิจกรรมสอนสำหรับคุณแม่ทำของเล่นให้ลูกหรือร่วมกันสร้างเกมการเล่นกับลูก

โครงการเสนอแนะให้แม่เสนอลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี อาจเรียกการจัดหารศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเยซูเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจัดในรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูก 1-3 ปี การอบรบเลี้ยงดูให้พ่อแม่พัฒนาพัฒนาทักษาด้านต่างอย่าง่าย จากวัสดุครัวเรือนและท้องถิ่นนำมาเป็นสื่อ-อุปกรณ์

โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก เด็ก 4-6 ปี เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ใช้เวลาว่างร่วมกับลูกให้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ โดยมีวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ฯลฯ เมื่อจบกิจกรรมมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลทุกครั้ง ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้จัด

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในยุคที่ประสบปัญหาจากด้านเศรษฐกิจ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาสนับสนุนให้ครอบครัวมีบทบาทจ่อการจัดการศึกษา ได้แก่ ความพร้อมที่จะเรียน และการมีส่วนร่วมของพ่อแม่เปรียบเสมือนเป็นหุ้นส่วนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ดำเนินงานโดยเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองใต้คำนิยาม ได้แก่ การศึกษาของพ่อแม่,โครงการพ่อแม่ในฐานะครู,โครงการสอนเด็กเล็กในบ้านจัดขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือการเรียนของเด็กจนประสบการสำเร็จ
โครงการเฮดสตาร์ท (Head Start) เป็นโครงการระดับชาติให้บริการพัฒนาการเด็ก 3-5 ปี พ่อแม่ที่มีรายได้น้อย โดยเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย และโภชนาการและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการโอมสตาร์ท (Home Start Program) พ่อแม่มีส่วนร่วมในการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ เฮดสตาร์ท โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการศึกษาแก่เด็ก เห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้วยโอกาส ช่วยสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ

โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start) ก่อตั้งโดย นายจิ ฮั้น ผู้ว่ามลรัฐแคโรไลนาเหนือ ปี 2539 ทำงานศึกษาปัญหาเด็กเล็ก โยเฉพาะด้านการอบรบเลี้ยงดู มีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ

โครงการ Brooklyne Early Childhood ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก โดยจัดให้มีตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้น ให้ความรู้ผู้ปกครองในการเลี้ยงเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป การฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนจัดการศึกษาปฐมวัย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน

โครงการเพลย์เซ็นเตอร์ กล่าวได้ว่า พ่อแม่เป็นครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก เป็นโครงการที่พ่อแม่มีส่วนร่วมด้วยทั้งหมดนับตั้งแต่การจัดตั้ง โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐรับรองสามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็ก

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายปรัชญารวมถึงนโยบายประโยชน์ผลการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองและเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนตอลดจนประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers) คัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการอบรมมาให้ความรู้พ่อแม่ในรุ่นต่อไป เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” ซึ่งจะช่วยเหลือและนำให้ข้อมูลต่อการพัฒนาเด็กส่งเสริมพัฒนาการลูกอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด  

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย เปิดบริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี การจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) เด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน การให้คำแนะในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่พึ่งมีลูกคนแรก

โครงการบุ๊คสตาร์
โครงการบุ๊คสตาร์ในประเทศอังกฤษ ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ปี 2535 โดย นางเวนดี้  คูลลิ่ง เป็นองค์กรการกุศล จัดทำให้เด็กทารกแรกเกิด-1 ปี สนับสนุนให้รักหนังสือและการอ่านด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ  ถุงบุ๊คสตาร์ท

โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)  ปี 2543 มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทเข้ามา ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดอย่างอ่อนโยน ศูนย์อนามัยห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ท และการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว

 วิดีโอที่เกี่ยวกับที่มาของโครงการ บุคสตาร์ทไทยแลนด์ โดยคุณตุ๊บป่อง เรืองศักดิ์  ปิ่นประทีป



ดูวิดีโอเพิ่มเติม
Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน หนังสือเล่มแรก Book Start

     การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


                  สำรหรับการนำไปประยุกต์ คือ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ "ถุงบุ๊คสตาร์" ซึ่งบ้างครอบครัวอาจจะยังไม่รู้ถึงเรื่องราวของโครงการดี ๆ ที่เด็กได้จากการส่งเสริมของหน่วยงานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก จึงจะเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์และการใช้สื่อที่เป็นนิทานในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว
ประเมินตนเอง
ประเมินตนเอง   มีความตั้งใจเรียน 80% ถึงแม้ช่วงดูวิดีโอจะไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไรแต่ก็พอจับใจความเนื้อห้างส่วนได้บ้างรวมถึงแต่งกายเรียบร้อยเป็นผู้ฟังที่ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน    เพื่อนๆดูตั้งใจเรียนและสามารถตอบคำถามจากที่อาจารย์ถามได้อย่างถูกต้อง
ประเมินอาจารย์  อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยเสมอ และเป็นกันเองในการเรียนการสอนทำให้บรรยากาศดูไม่ตึงเคลียด





วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

 คำถามท้ายบท บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
1).จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสาร ทั้งข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงใจให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการความสำคัญของการสื่อสาร หมายถึง การสร้างความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเกิดความพึงพอใจสร้างมิตรภาพที่อบอุ่นก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

2).การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครอง คือ เป็นการสื่อสารที่ครูผู้สอนและผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันโดยทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและสามารถดำเนินตามแผนดำเนินกิจกรรมได้ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก ทั้งนี้การสื่อสารกับผู้ปกครองจะเป็นแนวทางที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน หลักสำคัญจากการสื่อสารระหว่างครูและผู้ปกครองที่เข้าใจถึงการทำงาน

3). รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล SMCR ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร ตัวอย่างเช่น   ครูคือผู้ส่งสาร+จดหมาย/โน้ตคือสารการเขียนเป็นจดหมายหรือโน้ตซึ่งเป็นส่วนหาที่ผู้ปกครองจะต้องได้อ่านเมื่อเด็กถึงบ้าน+ประสาทสัมผัสทั้ง5คือช่องทางเด็กอาจเคยได้ยินหรือสัมผัสเรียนรู้มาบ้างแล้วจากประสบการณ์+ผู้ปกครองคือผู้รับสารได้รับและเข้าใจถึงความต้องการ

4).ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาการเด็ก  2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมาณฉันท์
      3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก   4.เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ
      5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาน้อยที่สุด  6.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ เช่น แผ่นพับ บอร์ด
      7.ควรได้รับต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน

5).ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ  ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กประกอบด้วย      
1.ความพร้อม คือ ความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ ความพร้อมจากประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจ ส่งเสริมการเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2.ความต้องการ คือ ความต้องการใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น บุตรมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3.อารมณ์และการปรับตัว คือ แนมโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภท คือ อารมณ์ทางบวก และอารมณ์ทางลบ ควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.การจูงใจ คือ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลานและเพื่อพัฒนาลูก
5.การเสริมแรง คือ สร้างความพึงพอใจหลักกรเรียนรู้ให้แกผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6.ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีความตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้า เช่น สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
7.ความถนัด คือ ความสามารถแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ



  

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4

                               >>>>>>>>>>>><<<<<<<< 
บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 4
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 29 สิงหาคม 2559  เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
           
                การเรียนของวันนี้อาจารย์จี้แจงเกี่ยวกับสัปดาห์ที่แล้วเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับบอกที่ไปที่มาของเหตุที่ไม่ได้มาสอน ต่อมาไม่นานก็ได้เข้าสู้บทเรียนด้วยการเล่นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาทิ เกมทายคำ เกมพรายกระซิบ เกมใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร ซึ่งนักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมครบทุกคนพร้อมสำหรับเรียนรู้เนื้อหาจากอาจารย์อย่างเต็มที่

            ความรู้ที่ได้รับ
  •         ครูปฐมวัยนิยมใช้รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โลในการสื่อสารกับผู้ปกครอง
  •  การสื่อสารกับผู้ปกครองควรเป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่เน้นทางการมากนักทำให้เกิดความเข้าใจ ทั้ง 2 ฝ่าย
  •       ความต้องการของผู้ปกครอง เป็นสิ่งสำคัญควรได้รับการส่งเสริมถึงความต้องการที่มีต่อเด็กด้วย
  •        การเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่หรือให้เกียรติแก่ผู้ปกครอง กิริยามารยาทที่ดีงาม



                  ภาพกิจกรรม "เกมส่งเสริมเพื่อการสื่อสาร"




สนุกกกก เอาอีกรอบค่ะอาจารย์ ><

เนื้อหาที่เรียน
              การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสาร ทั้งข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงใจให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
              ความสำคัญของการสื่อสาร คือ สร้างความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเกิดความพึงพอใจสร้างมิตรภาพที่อบอุ่นก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
 รูปแบบของการสื่อสาร
  •      รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
  •      รูปแบบการสื่อสสารลาล์สเวล
  •      รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนแลวีเวอร์
  •      รูปแบบการสื่อสารของออสกูลและชแรมม์
  •      รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
 ประเภทของการสื่อสาร
1.กระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่ง 2 ประเภท คือ
การสื่อสารทางเดียว หมายถึง การรับสารโดยไม่มีการตอบโต้กลับแต่อย่างไร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ.
การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน เช่น คุยโทรศัพท์ การมอบหมายงาน ฯลฯ
2.จำแนกตามสัญลักษณ์ที่แสดงออก
การสื่อสารเชิงวัจนะ หมายถึง การสื่อสารด้วยภาษาพูด และเขียนเป็นคำพูดในการสื่อสาร
การสื่อสารเชิงอวัจนะ หมายถึง การสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ เช่น ท่าทาง แสดงออกทางสีหน้า สายตา น้ำเสียง
3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
การสื่อสารระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 2 คนเป็นต้นไปหรืออาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
การสื่อสารสาธารณะ มีเป้าหมายต่อการส่งสารแก่สาธารณชนซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เช่น การสอนอบรม
การสื่อสารมวลชน ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อสารมวลชน
การสื่อสารในครอบครัว ยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทีแตกต่างกันควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
การสื่อสารในโรงเรียน อาจมีโอกาสโต้ถกเถียง ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช่อารมณ์ ซึ่งข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่และคำนึงถึงคุณธรรมความซื่อสัตย์ การเคารพผู้อาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป แสดงถึงความยินดีหรือเสียใจไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ซึ่งมีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม คือ ความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ ความพร้อมจากประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจ ส่งเสริมการเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2.ความต้องการ คือ ความต้องการใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น บุตรมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี
3.อารมณ์และการปรับตัว คือ แนมโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภท คือ อารมณ์ทางบวก และอารมณ์ทางลบ ควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.การจูงใจ คือ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลานและเพื่อพัฒนาลูก
5.การเสริมแรง คือ สร้างความพึงพอใจหลักกรเรียนรู้ให้แกผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6.ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีความตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้า เช่น สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
7.ความถนัด คือ ความสามารถแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
               ศึกษาและพยายามเรียนรู้ความต้องการของผู้ปกครอง จากแนวทาง การตอบสนองตามความเหมาะสม รวมทั้งพูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่าง ๆ เช่น กิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น สิ่งสำคัญคือการทำตัวให้กลมกลืนซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองเปิดโอกาสและรับฟังปัญหาหรือแนวทางที่เราแนะนำมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับครูผู้สอน 

   การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  การสร้างสัมพันธ์ที่ดีจากการสื่อสารและผ่านกิจกรรมที่บุคคลร่วมกันจัดทำผ่านกิจกรรมนั้น ๆ  โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างเกมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมาเป็นหลักในการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายจากการเล่น และนำไปใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองในการรับฟังและยินดีต่อการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ปกครอง
     การประเมินผล
      ประเมินตนเอง เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน และตั้งใจในการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้ดี
      ประเมินเพื่อน มีความตั้งใจและรับฟังเนื้อหาที่อาจารย์ผู้สอนได้กล่าวมาอย่างดีและสามารถตอบคำถามคล้ายความสงสัยจากอาจารย์ได้


      ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับเนื้อหาการเรียนและมีการเตรียมความในการเรียนที่ดีพร้อมต่อการให้ความรู้แก่นักศึกษา