บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเรียนวันนี้ถึงแม้เนื้อหาจะค่อนข้างเยอะอาจารย์ก็เตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี
บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานและตั้งใจฟังการสอนของอาจารย์เพื่อนๆมีการสนทนากับอาจารย์ระหว่างเรียนทำให้ดูสบายกับการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้
เมื่อจบเนื้อหาอาจารย์ให้ดู วิดีโอที่เกี่ยวกับที่มาของโครงการ บุคสตาร์ทไทยแลนด์
โดยคุณตุ๊บป่อง เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป
ความรู้ที่ได้รับ
·
ต้นกำเนิดบุ๊คสตาร์ทเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ
·
นางเวนดี้ คูลลิ่ง
ผู้ก่อตั้งโครงการบุ๊คสตาร์ทซึ่งเป็นองค์กรการกุศล
·
โครงการบุ๊คสตาร์ทไทยแลนด์
เริ่มต้นในปี 2546
เนื้อหาที่เรียนรู้
บทที่ 4
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ
โครงการแม่สอนลูก ดำเนินการโดยกรมฝึกหัดครู
กระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งจัดให้สำหรับเด็กที่ด้วยโอกาสมารดาเป็นผู้สอนด้วยตนเองที่บ้าน
การสอนใช้วิธีการในรูปแบบการทอลองโดยอาศัยรูปแบบโครงการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
เน้นให้ผู้ปกครองมีส่วนรวมในการส่งเสริมพัฒนาเด็กด้านต่าง ๆ เช่น ภาษา พัฒนากล้ามเนื้อ
และสติปัญญา
ทั้งนี้ผู้ปกครองต้องบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูกอย่างสม่ำเสมอ
โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรบเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุนชนและสถานีอนามัย เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
ซึ่งประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
1.วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยมีส่วนร่วม
2.วิธีการสนทนากลุ่ม เช่น การพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3.วิธีอภิปรายกลุ่ม เช่น การอภิปราย บรรยาย
จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นโครงการขนาดใหญ่
4.วิธีการบรรยาย
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย ดำเนินงานโดยกรมสุขภาพจิต โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเอง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง เรื่อง“การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก” ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา
เสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น
สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์
สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว
เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart
Thailand) โครงการหนังสือเล่มแรก
เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน”ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย
สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว
เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก
- จัดตั้งสถานบริการ “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส”ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
- จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่
- จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
เกี่ยวกับการอบรบเลี้ยงดูเด็ก
- การส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการศึกษาให้แก่เด็ก
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้พ่อแม่ในประเทศอิสราเอล ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง มีการจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 3-4 ปี
ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานร่วมกันระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชน
ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทุกโรงเรียนในประเทศอิสราเอล
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย เรียกว่า ALEH (Early childhood Enrichment Center) มีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครองดังนี้ แนะนำคุณแม่ที่อายุยังน้อยรู้จัก
สื่อ-อุปกรณ์ ที่ดีเพื่อพัฒนาเด็ก
แนะให้รู้จักกับนักสงเคราะห์เพื่อรับฟังให้คำแนะที่ดีในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดกับลูก
มีกิจกรรมสอนสำหรับคุณแม่ทำของเล่นให้ลูกหรือร่วมกันสร้างเกมการเล่นกับลูก
โครงการเสนอแนะให้แม่เสนอลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี อาจเรียกการจัดหารศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้
โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเยซูเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งจัดในรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูก 1-3 ปี
การอบรบเลี้ยงดูให้พ่อแม่พัฒนาพัฒนาทักษาด้านต่างอย่าง่าย
จากวัสดุครัวเรือนและท้องถิ่นนำมาเป็นสื่อ-อุปกรณ์
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก เด็ก 4-6 ปี
เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ใช้เวลาว่างร่วมกับลูกให้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
โดยมีวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ฯลฯ
เมื่อจบกิจกรรมมีการพูดคุยสรุปและประเมินผลทุกครั้ง
ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้จัด
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในยุคที่ประสบปัญหาจากด้านเศรษฐกิจ
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาสนับสนุนให้ครอบครัวมีบทบาทจ่อการจัดการศึกษา ได้แก่
ความพร้อมที่จะเรียน
และการมีส่วนร่วมของพ่อแม่เปรียบเสมือนเป็นหุ้นส่วนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง
4 ด้าน
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ดำเนินงานโดยเอกชนสาธารณประโยชน์
(NGO)
ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองใต้คำนิยาม ได้แก่ การศึกษาของพ่อแม่,โครงการพ่อแม่ในฐานะครู,โครงการสอนเด็กเล็กในบ้านจัดขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือการเรียนของเด็กจนประสบการสำเร็จ
โครงการเฮดสตาร์ท (Head Start) เป็นโครงการระดับชาติให้บริการพัฒนาการเด็ก
3-5 ปี พ่อแม่ที่มีรายได้น้อย โดยเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาด้านอารมณ์ สังคม
สุขภาพกาย และโภชนาการและการมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการโอมสตาร์ท (Home Start Program)
พ่อแม่มีส่วนร่วมในการศึกษาซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ เฮดสตาร์ท
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการศึกษาแก่เด็ก
เห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้วยโอกาส
ช่วยสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart
Start) ก่อตั้งโดย
นายจิ ฮั้น ผู้ว่ามลรัฐแคโรไลนาเหนือ ปี 2539 ทำงานศึกษาปัญหาเด็กเล็ก
โยเฉพาะด้านการอบรบเลี้ยงดู มีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำว่า 6 ปี
ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ
โครงการ Brooklyne Early Childhood ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
โดยจัดให้มีตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้น ให้ความรู้ผู้ปกครองในการเลี้ยงเด็กอย่างถูกวิธี
และวิธีจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป การฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนจัดการศึกษาปฐมวัย
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน
และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
โครงการเพลย์เซ็นเตอร์ กล่าวได้ว่า พ่อแม่เป็นครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก
เป็นโครงการที่พ่อแม่มีส่วนร่วมด้วยทั้งหมดนับตั้งแต่การจัดตั้ง
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐรับรองสามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็ก
โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง
เพื่ออธิบายปรัชญารวมถึงนโยบายประโยชน์ผลการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง
เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองและเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน
จัดทำหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนตอลดจนประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers) คัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการอบรมมาให้ความรู้พ่อแม่ในรุ่นต่อไป
เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” ซึ่งจะช่วยเหลือและนำให้ข้อมูลต่อการพัฒนาเด็กส่งเสริมพัฒนาการลูกอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย เปิดบริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี
การจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book)
เด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน
การให้คำแนะในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่พึ่งมีลูกคนแรก
โครงการบุ๊คสตาร์
โครงการบุ๊คสตาร์ในประเทศอังกฤษ ก่อตั้งครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
ปี 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง เป็นองค์กรการกุศล จัดทำให้เด็กทารกแรกเกิด-1
ปี สนับสนุนให้รักหนังสือและการอ่านด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart
Japan) ปี
2543 มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทเข้ามา ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า
ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก
เด็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดอย่างอ่อนโยน
ศูนย์อนามัยห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ท
และการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
วิดีโอที่เกี่ยวกับที่มาของโครงการ
บุคสตาร์ทไทยแลนด์ โดยคุณตุ๊บป่อง เรืองศักดิ์
ปิ่นประทีป
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สำรหรับการนำไปประยุกต์ คือ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ "ถุงบุ๊คสตาร์" ซึ่งบ้างครอบครัวอาจจะยังไม่รู้ถึงเรื่องราวของโครงการดี ๆ ที่เด็กได้จากการส่งเสริมของหน่วยงานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก จึงจะเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์และการใช้สื่อที่เป็นนิทานในการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัว
ประเมินตนเอง มีความตั้งใจเรียน 80% ถึงแม้ช่วงดูวิดีโอจะไม่ค่อยสนใจฟังเท่าไรแต่ก็พอจับใจความเนื้อห้างส่วนได้บ้างรวมถึงแต่งกายเรียบร้อยเป็นผู้ฟังที่ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆดูตั้งใจเรียนและสามารถตอบคำถามจากที่อาจารย์ถามได้อย่างถูกต้อง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มาตรงเวลา
แต่งกายเรียบร้อยเสมอ และเป็นกันเองในการเรียนการสอนทำให้บรรยากาศดูไม่ตึงเคลียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น