คำถามท้ายบท บทที่ 3
การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
1).จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสาร ทั้งข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงใจให้ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการความสำคัญของการสื่อสาร หมายถึง
การสร้างความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
รวมทั้งเกิดความพึงพอใจสร้างมิตรภาพที่อบอุ่นก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2).การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครอง
คือ เป็นการสื่อสารที่ครูผู้สอนและผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันโดยทั้ง 2
ฝ่าย
เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและสามารถดำเนินตามแผนดำเนินกิจกรรมได้ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก
ทั้งนี้การสื่อสารกับผู้ปกครองจะเป็นแนวทางที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน
หลักสำคัญจากการสื่อสารระหว่างครูและผู้ปกครองที่เข้าใจถึงการทำงาน
3).
รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นแบบใด
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล SMCR ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง ผู้รับสาร ตัวอย่างเช่น
ครูคือผู้ส่งสาร+จดหมาย/โน้ตคือสารการเขียนเป็นจดหมายหรือโน้ตซึ่งเป็นส่วนหาที่ผู้ปกครองจะต้องได้อ่านเมื่อเด็กถึงบ้าน+ประสาทสัมผัสทั้ง5คือช่องทางเด็กอาจเคยได้ยินหรือสัมผัสเรียนรู้มาบ้างแล้วจากประสบการณ์+ผู้ปกครองคือผู้รับสารได้รับและเข้าใจถึงความต้องการ
4).ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาการเด็ก
2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมาณฉันท์
3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
4.เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ
5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาน้อยที่สุด
6.เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ เช่น แผ่นพับ บอร์ด
7.ควรได้รับต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
5).ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง
เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง
ตอบ ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กประกอบด้วย
1.ความพร้อม คือ
ความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ ความพร้อมจากประสบการณ์เดิม
สร้างความสนใจ ส่งเสริมการเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2.ความต้องการ คือ
ความต้องการใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น บุตรมีสุขภาพที่แข็งแรง
มีการศึกษาที่ดี
3.อารมณ์และการปรับตัว คือ
แนมโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภท คือ อารมณ์ทางบวก
และอารมณ์ทางลบ ควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.การจูงใจ คือ
กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลานและเพื่อพัฒนาลูก
5.การเสริมแรง คือ
สร้างความพึงพอใจหลักกรเรียนรู้ให้แกผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6.ทัศนคติและความสนใจ คือ
การที่บุคคลมีความตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้า เช่น
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
7.ความถนัด คือ ความสามารถแต่ละบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น