วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 15 สิงหาคม 2559  เวลา 08.30-11.30 น. ตึก 15-0908
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาในการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้ 

  •        ความหมายการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  •        ความสำคัญการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  •        วัตถุประสงค์การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
  •        รูปแบบการให้การศึกษาผู้ปกครอง
  •        แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
  •        แนวปฏิบัติของสถานศึกษา

ความหมายการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง  หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง                       
วัตถุประสงค์การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
 1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง  การจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา การให้ความรู้ผู้ปกครอง จึงมีความสำคัญที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน เพื่อจัดรูปแบบในการให้ความรู้เพื่อเข้าถึงเป้าหมาย รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ด้วยวิธีการดังนี้
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
แบ่งเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การวางแผน
    - กำหนดวัตถุประสงค์
    - จัดเตรียมการประชุม
    - จัดทำกำหนดการประชุม
     ดำเนินการประชุม
     ประเมินผลการประชุม
    - การบรรลุวัตถุประสงค์
    - ความพร้อมของการประชุม
    - หัวข้อการประชุม
    - ขั้นตอนการประชุม ฯลฯ
    การออกจดหมายข่าวผลประชุม


แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง


      การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  จากการนำไประยุกต์ใช้ คือ แนวทางในการทำความเข้าใจเบื้องเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อที่จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้ตรงต่อความต้องการและความเหมาะสมของผู้รับสาร หากเป็นการให้คำปรึกษาท่เป็นรายบุคคลใช้คำศัพท์เเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย และเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นทางการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองในครั้งต่อ ๆ ไป

     การประเมินผล
      ประเมินตนเอง รับฟังความคิดเห็นที่อาจารย์ชี้แนะได้เข้าใจ และมีการจดบันทึก
      ประเมินเพื่อน มีความตั้งใจในการเรียนการสอนในสัปดาห์และสนุกสนานที่พบอาจารย์ผู้สอน


      ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แนะสิ่งต่าง ๆ และยกตัวอย่างเนื้อหาทำให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย


วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1
รายวิชากการให้การศึกษาผู้ปกครองในเด็กปฐมวัย
วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา08.30-11.30 น. ตึก15-0908
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาในการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้ 
  •   ความหมายของผู้ปกครอง
  •   ความสำคัญของผู้ปกครอง
  •    บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง

ความหมายของผู้ปกครอง 
          ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย

ความสำคัญของผู้ปกครอง
            ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
บทบาทและหน้าที่   
            พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก

บทบาทและหน้าที่ด้านการดูแล    บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
                   1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
                   2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
                   3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
 1.  ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
 2.  ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
 3.  สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
 4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำ   วิธีการผิดๆ ไปใช้
  5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
  6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
  7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
  8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
  9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้

บทบาทและหน้าที่การส่งเสริมการศึกษา
 1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
 2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก                
 3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
 4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก              
 5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย

บทบาทหน้าที่ผู้ปกครอง 10 ประการ
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
 4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
 5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
 6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
 7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
 8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
 9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
 10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม


      การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  การนำไประยุกต์ใช้ คือ สร้างความเข้าใจและความหมายเกี่ยวกับผู้ปกครองและนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงการสร้างโครงการที่จะเกิดขึ้นในรายวิชา
     การประเมินผล
      ประเมินตนเอง ตั้งใจและเข้าใจในเนื้อหารายวิชา รวมถึงแต่งกายเป็นระเบียบตามข้อกำหนดที่ตกลง
      ประเมินเพื่อน ทุกคนมีความตั้งใจฟังคำอธิบายในการเรียนการสอนของอาจารย์


      ประเมินอาจารย์ อาจารย์เตรียมความพร้อมในการเรียนการสอน และชี้แนะการสอนในรายวิชาการให้การศึกษาผู้ปกครอง